คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คืออะไร
ในภาวะโลกร้อนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่สำคัญคงหนึไม่พ้นเกิดจากกิจกรรมต่างของมนุษย์เรานั่นเอง ทั้งจากการใช้พลังงาน การทำลายทรัพยากรธรรมชาติเช่น การตัดไม้ทำลายป่า การขนส่ง และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และในปัจจุบันเราจะพบว่าในหลาย ๆ ประเทศได้มีความตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น และสิ่งหนึ่งที่ให้ความสนใจก็คือ การที่จะร่วมมือกันผลิตและบริโภคผลิตัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีทั้งการเชิญให้ผู้ผลิตได้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์อีกด้วย
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คืออะไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint, CF) คือ การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases, GHGs) จากกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฎจักรชีวิต (Product Life Cycle) โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบนำไปแปรรูป ผลิต จดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการหลังจากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หมดสภาพการใช้งานแล้ว โดยแสดงข้อมูลไว้บนฉลากคาร์บอน (Carbon Labeling) ติดฉลากบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภั.ณฑ์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด คาร์บอนฟุตพริ้นท์นี้ได้ถูกแนะนำขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในช่วงเดือนมีนาคม 2550 ภายใต้การกำกับดูแลของ Carbon Trustปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้มาอย่างไร
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้จากการวัดหรือการคำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ทั้งหมดในหน่วยกิโลกรัมหรือตัน ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (KgCO2 equivalent หรือ tonCO2 equivalent) การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จะต้องทำการพิจารณาจากกิจกรรม 2 ส่วนหลัก คือ
1. การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Primary Footprint)
เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้านั้น ๆ โดยตรง เช่น การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตและการขนส่งทั้งโดยรถบรรทุก ทางเรือ และทางอากาศ2. การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อม (Secondary Footprint)
เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้สินค้าตลอดจนการจัดการซากสินค้าหลังการใช้งาน ดังตัวอย่างแสดงค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ของผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบจากบริษัท Walkers Snacks ซึ่งพบว่ามีจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 80 กรัม โดยในแต่ละขั้นตอนมีจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์แสดงดังภาพWalker Carbon Footprint |
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ (Carbon Footprint Label)
การแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์
การแสดงข้อมูลปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์อาจจะมีลักษณะคล้ายกับป้ายบอกจำนวนแคลอรี่และสารอาหารซึ่งมีการจัดทำโดยการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์หรือภาชนะบรรจะนั้น หรือเป็นสัญลักษณ์ตามที่หน่วยงาน เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนียได้ทำการออกรูปแบบของฉลากคาร์บอนใน 3 ประเภท ได้แก่1. ฉลาก Low-Carbon Seal
ซึ่งเป็นฉลากคาร์บอนประเภทที่ไม่มีจำนวนการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ติด ดั้งนั้นผู้บริโภคจะไม่สามารถทราบได้ถึงจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยในภาคการผลิตสินค้า
2. ฉลาก Carbon Score
เป็นฉลากคาร์บอนประเทภที่มีจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ติดไว้บนตัวผลิตัณฑ์ ดังนั้นผู้บริโภคจะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตสินค้าของระหว่างสินค้าแต่ละชนิดหรือชนิดเดียวกันแต่ตราสัญลักษณ์ต่างกันได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตปริมาณน้อยที่สุด
3. ฉลาก Carbon Rating
ฉลากคาร์บอนประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับฉลากประหยัดพลังงานในสหภาพยุโรป โดยฉลากคาร์บอนประเภทนี้จะแบ่งกลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาว จาก 1 จนถึง 5 ดาว หากสินค้าใดได้จำนวนดาวมากหมายถึงสินค้าชนิดนั้น ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ในปริมาณมากกว่าสินค้าที่ได้ดาวน้อยดวงส่วนในสหภาพยุโรปจะมีการแบ่งกลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาว จากจำนวน 1 จนถึง 5 ดาว โดยสินค้าที่ได้ดาวมากหมายถึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณมากกว่าสินค้าที่ได้ดาวน้อย
ตัวอย่าง ฉลากแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินทร์ (Carbon Footprint Label) ประเทศต่างๆ
สำหรับประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้จัดทำโครงการฉลากคาร์บอนขึ้น โดยมีการแบ่งระดับคล้าย ๆ ฉลากไฟ เบอร์ 5 โดยแบ่งออกเป็น 5 สี 5 เบอร์ ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงในสินค้าแต่ละชนิด คือ
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 1 จะมีพื้นฉลากสีแดง เป็นสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยที่สุด ที่ 10%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 2 สีส้ม ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 20%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 3 สีเหลือง ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 30%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 4 สีน้ำเงิน ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 40%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 2 สีส้ม ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 20%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 3 สีเหลือง ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 30%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 4 สีน้ำเงิน ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 40%
• ฉลากคาร์บอนเบอร์ 5 มีพื้นสีเขียว เป็นสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด คือ 50%
ฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์ของไทย |
ประโยชน์ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ควรใช้คาร์บอนฟุตพริ้นทร์ กับผลิตภัณฑ์ชนิดใด?
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ นอกจากจะสามารถใช้ได้กับการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ยังสามารถทำการประเมินได้ ในลักษณะการให้บริการ และระดับองค์กรอีกด้วย ซึ่งการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ ทั้ง 3 ระดับนี้ มีวัตถุประสงค์ต่างกัน1. ระดับผลิตภัณฑ์
2. ระดับการให้บริการ
เช่น ในบางสายการบินเริ่มมีการประกาศคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ของตัวเอง เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเปรียบเทียบผลกระทบที่เกิดจากการเดินทางของตน
3. ระดับองค์กร
โดยองค์กรอาจคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ของตน แล้วจัดพิมพ์ลงในรายงานประจำปี (Annual Report) หรือรายงานสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรในการมีส่วนร่วมช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
คาร์บอนฟุตพริ้นทร์ มีประโยชน์อย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?
คาร์บอนฟุตพริ้นทร์เป็นข้อมูลที่นำมาใช้กับการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างองค์กรทางธุรกิจ หรือเป็นการสื่อสารไปยังผู้บริโภค โดยมีการแสดงปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ ลงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ของตน ข้อมูลนี้จึงถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขายสินค้าแก่กลุ่มผู้ซื้อที่มีจิตสำนึกสูงต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ตรวจสอบข้อมูลว่าผู้ผลิตได้ใส่ใจในภาคการผลิตต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือต่อปัญหาโลกร้อนมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตด้สนพลังงาน นอกจากนี้หากภาคธุรกิจที่มีการแสดงข้อมูลของคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์สินค้าได้เป็นอย่างดี ตลอดจนทำให้ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นบริษัทในประเทศไทย ที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นทร์
สำหรับประเทศไทยมีรายชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นทร์แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 22 บริษัท เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2553) เช่น• กระเบื้องเซรามิคบุผนัง คอตโต ของบริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด
• ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโคคา-โคล่า ชนิดบรรจุกระป๋อง ขนาด 325 cc ของบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
• เส้นหมี่กึ่งสำเร็จรูปน้ำใส มาม่า ขนาดบรรจุ 55 กรัม ของบริษัท เพรสซิเดนท์ไรซ์-โปรดัก จำกัด (มหาชน)
• เนื้อไก่สด CP ขนาดบรรจุ 1,000 กรัม ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาการ จำกัด (มหาชน)
บทสรุป
คาร์บอนฟุตพริ้นทร์ แม้ว่าจะเป็นมาตรการสมัครใจ แต่ก็มีแนวโน้มจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่ส่งผลต่อการค้าอย่างแน่นอน การแข่งขันในตลาดจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของสินค้า การบริการ ราคา และคุณภาพ เพียงเท่านั้น สินค้าหรือบริการใดที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะเป็นการช่วยสร้างจุดขายที่เหนือกว่าคู่แข่งขันอีกด้วย ข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ จึงเป็นข้อมูลที่มีส่วนสำคัญที่เราควรให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น หากจะเลือกซื้อสินค้าในครั้งต่อไปก็อย่าพิจารณาเพียงแค่ คุณภาพและราคาเท่านั้น เราควรพิจารณาว่าสินค้านั้นมีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นทร์แสดงอยู่หรือไม่ การเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย จึงถือได้ว่าพวกเราทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความใส่ใจในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่มา : http://businessconnectionknowledge.blogspot.com/2010/12/shopping-carbon-footprint-1.html#.WLwlnH9SK6g
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น