CDMA ย่อมาจาก Code Division Multiple Access เป็นการมัลติเพล็ก สัญญาณข่าวสารต่าง ที่เราใช้ติดต่อกัน ให้ไปกับคลื่นพาห์ แบบการเข้ารหัสหรือการเข้าโค๊ดนั่นเองครับ ซึ่งจะแตกต่าง จากระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) ซึ่งจะใช้การ มัลติเพล็ก หรือ มอดูเลต สัญญาณข่าวสาร ต่างๆ ให้ไปกับคลื่นพาห์ แบบ TDMA (Time Division Multiple Access) การมัลติเพล็กแบบแบ่งช่วงเวลา และ FDMA (Frequency Division Multiple Access) การมัลติเพล็กแบบแบ่งช่วงความถี่ ซึ่งตัวเครื่อง หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ของทั้งสองระบบ นี้จะถูกออกแบบ มาต่างกัน ซิมการ์ดก็จำเป็นที่จะต้องใช้ ให้ถูกกับระบบของตัเครื่อง เนื่องจากในการลงทะเบียนการใช้งานแต่ละครั้งข้อมูลต่างๆในซิมการ์ดจะต้อง ถูกยืนยันให้ตรงกับข้อมูลที่ถูกเก็บในฐานข้อมูลของเครือข่าย ถึงจะอนุญาตให้ผู้ใช้นั้นใช้งานได้
CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นรูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่มีให้บริการอย่างแพร่หลาย ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบ CDMA จะทำงานโดยการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลดิจิแบบตอล และถูกนำไปเข้ารหัสเฉพาะสำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ระบบ CDMA นั้นสามารถรองรับการใช้งานจากเครื่องลูกข่ายได้ในจำนวนมาก
ในระบบ CDMA นั้นยังแบ่งเทคโนโลยีออกไปได้หลายแบบ อาทิเช่น CDMA One (IS-95A และ IS-95B), CDMA 2000 1x และ CDMA 2000 1xEVCDMA 2000 1xเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก CDMA เดิม โดยได้เพิ่มความสามารถในด้านการรองรับการใช้งานโทรศัพท์ และการรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 153 kbps ทำให้สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้สะดวกมากขึ้น
CDMA 2000 1xEV เป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจาก CDMA 2000 1x เดิมโดยได้แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CDMA 2000 1xEV-DO หรือ Data Optimized ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในด้านการใช้งานรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วสูงขึ้นถึง 2.4 Mbps และอีกแบบหนึ่งคือ CDMA 2000 1xEV-DV หรือ Data and Voice ซึ่งเป็นการพัฒนาให้รองรับทั้งการใช้งานเสียงและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น
CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัทพ์เคลื่อนที่แบบหนึ่งซึ่ง ข้อมูลที่ส่งออกมาจากสถานีฐานจะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ในระบบ CDMA นี้ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับ code ชุดหนึ่งที่ไม่เหมือนกับ code ของผู้ใช้คนอื่น เมื่อใช้ code ดังกล่าวถอดรหัสสัญญาณจากสถานีฐาน ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนได้รับข้อมูลในส่วนของตัวเองได้
CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารแบบไร้สายในปัจจุบันด้วยวิธีง่ายๆและมีประสิทธิภาพ โดยระบบ CDMA จะแปลงเสียงเป็นรหัสเฉพาะในรูปของแพ็กเกจจากนั้นสัญญาณรหัสของการพูดทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้กระจายไปยังช่วงกว้างๆ ของย่านความถี่สัญญาณรบกวนอื่นๆ นอกเหนือจากคำสนทนาจะถูกดึงออกที่ปลายทาง โดยรหัสที่ระบุไว้แล้ว
เมื่อกลุ่มสัญญาณนี้เดินทางมาถึงเครื่องรับสัญญาณเสียงหรือข้อมูลที่ได้รับมานี้จะถูกนำมารวบรวมในรูปของคำสนทนาก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งด้วยเทคนิคนี้จึงสามารถทำให้ระบบนี้สามารถรองรับจำนวนการโทรเข้าออกได้หลายๆ การสนทนาในเวลาเดียวกันภายในการส่งสัญญาณ ผ่านย่านคลื่นวิทยุเพียงหนึ่งคลื่น ผลก็คือระบบ CDMA จะสามารถรองรับปริมาณคู่สายได้จากการใช้ระบบ CDMA
CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandi ago, California USA เป็นผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum Technique Spread Spectrumไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียวกันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน
หลักการจัดสรรช่องสัญญาณในระบบ FDMA(Frequency Division Multiple Access) ผู้ใช้จะได้รับช่วงความถี่ที่ใช้ในการส่งข้อมูล ระบบ TDMA(Time Didision Multiple Access) ผู้ใช้จะได้รับช่วงความถี่และใช้ช่วงเวลาที่กำหนดในการส่งข้อมูล และสำหรับระบบ CDMA ผู้ใช้จะใช้ช่วงความถี่ทั้งหมดและไม่จำกัดช่วงเวลาโดย ส่ง/รับข้อมูลโดยการเข้า/ถอดรหัส เปรียบเทียบลักษณะการส่งข้อมูลแบบต่างๆตามรูปข้างล่าง
การรองรับผู้ใช้ในความถี่คลื่นที่มากกว่า
ระบบซีดีเอ็มเอ จะสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากกว่าระบบอื่นๆ หลายเท่าโดยไม่ต้องเพิ่มย่านความถี่(ซึ่งมีราคาสูง) จึงเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ากว่า โดยใช้การเพิ่มความจุของย่านความถี่นั้น หมายถึง การที่หลุดน้อยครั้งลง ช่องสัญญาณว่างมากขึ้น และสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ระบบซีดีเอมเอ จะให้จำนวนผู้ใช้ในคลื่นความถี่ต่อเมกะเฮิรตซ์ที่มากกว่า เทคโนโลยีของการสื่อสารระบบไร้สายเชิงพาณิชย์อื่นๆไม่ว่าจะเป็นระบบดิจิตอลหรืออนาล็อก อันที่จริงระบบซีดีเอ็มเอ มีประสิทธิภาพในการรองรับผู้ใช้ในคลื่นความถี่ มากกว่าระบบเซลลูล่าร์ในปัจจุบันประมาณ 10 ถึง 20 เทคโนโลยี ด้วยการใช้งานย่านความถี่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าในการใช้แถบความถี่ขนาดกว้าง ในย่านความถี่คลื่นวิทยุ เพื่อส่งผ่านสัญญาณที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่บนทุกๆเซ็กเตอร์ของทุกๆ สถานีแม่ข่าย ด้วยสัญญาณพาหะของซีดีเอ็มเอ เพียงหนึ่งแบนด์
การครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขวาง
เนื่องจากการติดตั้งเซลระบบซีดีเอ็มเอ ไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนมาก เทคโนโลยีกับระบบเครือข่ายดิจิตอลหรืออนาล็อกโดยทั่วไป จึงทำให้ค่าใช้จ่ายถาวรและเงินลงทุน ในการจัดหาสถานที่ตั้งสถานีเครือข่ายและการสร้างเครือข่ายลดลงอย่างมากยิ่งกว่านั้น ด้วยจำนวนสถานีในเครือข่ายที่น้อยลง จึงช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายไปได้อีกด้วย การใช้เทคนิคเฉพาะของระบบซีดีเอ็มเอ(เรียกว่าการรับสัญญาณแบบอาร์เอเคอี - RAKE) โดยรวบรวมสัญญาณจากทิศทางต่างๆ ที่เดินทางมาก็เพื่อเพิ่มการรับสัญญาณที่เข้มและหนาแน่นมากขึ้นเทคนิคนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ระบบซีดีเอ็มเอ สามารถขยายประสิทธิภาพการครอบคลุมของแต่ละเซลในขณะเดียวกันสามารถเลือกและรองรับสัญญาณที่รับได้ดีที่สุดมากถึง 3 ชุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ ซี่งในทางกลับกันอนาล็อกและดิจิตอลอื่นๆในวิธีเดียวกันสัญญาณที่มาจากหลายทิศทางจะส่งผลกระทบกับระบบ
ความสามารถในการขยายบริการ
ระบบซีดีเอ็มเอ ใช้เทคโนโลยีที่สามารถรองรับ บริการเสริมพิเศษต่างๆ ได้มากมายเช่น บริการเลขหมายส่วนตัว (Personal Number Services) ระบบตรวจสอบการโจรกรรมข้อมู(Authentication)การเรียกสายตามคำสั่งเฉพาะ (Custom Calling Packages) โทรสารและข้อมูล (Fax and Data) และบริการฝากข้อความ (Shot Message Services) กสท. สามารถเพิ่มรายได้ด้วยการเสนบริการเสริมพิเศษ ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้สูงขึ้น และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าพร้อมทั้งเพิ่มเวลาในการใช้บริการให้นานขึ้นในขณะเดียวกันกับเพิ่มแรงจูงใจในการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ ให้เข้ามาใช้บริการ
การส่งผ่านสัญญาณแบบซอฟท์
สายหลุดซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ใช้บริการไม่เฉพาะแต่ในกรุงเทพฯ เท่านั้นแต่รวมถึงทั่วโลกด้วย การส่งผ่านสัญญาณแบบซอฟท์ของระบบซีดีเอ็มเอสามารถทำให้จำนวนสายหลุดลดลงพร้อมทั้งกำจัดเสียงไฟฟ้าสถิต และเสียงซ่าต่างๆออกไป ช่วยให้เสียงชัดเจนขึ้น ยิ่งกว่านั้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการโดยรวมและความพอใจของลูกค้าใหม่ และผู้ใช้บริการปัจจุบัน ซึ่งทำให้ลดปัญหาการร้องเรียนที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวลงได้ การใช้สายบนเครือข่ายระบบซีดีเอ็มเอเป็นการส่งสัญญาณสดบนช่องเซ็กเตอร์หลายหลายช่อง และหลายเซลพร้อมๆ กัน ในขณะที่ผู้ใช้บริการกำลังเดินทางผ่านเขตส่งผ่านสัญญาณสาย ที่ใช้อยู่นั้นจะมีการเชื่อมต่อก่อนที่จะมีการส่งผ่าน ซึ่งสามารถลดจำนวนครั้ง และความถี่ของปัญหาสายหลุดข้อได้เปรียบของการส่งผ่านสัญญาณแบบซอฟท์นี้ คือการช่วยประหยัดเวลาและการทำงานที่ศูนย์โมบายสวิตซ์ซึ่งในการส่งผ่านสัญญาณ และลดอัตราการรบกวนในย่านความถี่ ซึ่งในขณะที่การส่งผ่านสัญญาณ และลดอัตราการรบกวนในย่านความถี่ ซึ่งในขณะที่การส่งผ่านสัญญาณแบบฮาร์ด (Hard Handoffs) จะต้องใช้กำลังส่งสูงกว่าจนถึงช่วงต่อของการส่งผ่านสัญญาณ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมในการใช้ย่านความถี่ลดลง
ที่มา : http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=20111.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น