ตลาดออฟชอว์ (Offshore) คือ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายกันที่ต่างประเทศ
ส่วนออนชอร์ (Onshore) คือ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศ
ส่วนออนชอร์ (Onshore) คือ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศ
ซึ่งโดยปกติอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในทั้ง 2
ตลาดจะอยู่ในระดับที่แทบจะไม่แตกต่างกัน
เพราะไม่ว่าต่างชาติหรือคนไทยก็สามารถที่จะนำเงินบาทออกไปซื้อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งที่ออฟชอว์หรือออนชอร์ก็ได้
แต่สำหรับคนไทยจะมีข้อจำกัดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ที่กำหนดให้สามารถนำเงินบาทออกนอกราชอาณาจักรได้ไม่เกินคนละ 50,000 บาท
เพราะฉะนั้นตลาดที่คนไทยใช้สำหรับซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนจึงอยู่ที่ตลาดออนชอร์เท่านั้น
ต่อมาเมื่อ
ธปท.ออกมาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศที่มาแลกเงินบาทในสัดส่วน 30%
ส่งผลให้ค่าเงินบาทในตลาดทั้งสองแตกต่างกันมากถึง 2 บาท
เนื่องจากมาตรการดังกล่าวทำให้เงินดอลลาร์ที่นำมาแลกเป็นเงินบาทจะต้องถูกหักออก
30% เพื่อกักไว้ที่ ธปท.เป็นเวลา 1 ปี
มีผลให้การนำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมีต้นทุนที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกันเงินบาทจะกลายเป็น "ของมีค่า" มากขึ้นสำหรับคนต่างชาติ
จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อมีความต้องการเงินบาทมากขึ้น
ต่างชาติต้องหาเงินบาทมาส่งมอบให้ได้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำเอาไว้
ก็ยิ่งทำให้เงินบาทในตลาดออฟชอร์ก็ยิ่งแข็งค่ามากขึ้น
จนมีอัตราแพงกว่าในตลาดออนชอร์ถึง 2 บาทต่อดอลลาร์ คือ
ขณะที่ออนชอร์อยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ แต่ที่ตลาดออฟชอร์เงินบาทอยู่ที่ 33
บาทต่อดอลลาร์แต่อัตราที่ 33 บาทต่อดอลลาร์จะมีผลเฉพาะต่างชาติเท่านั้น ขณะที่คนไทยในประเทศยังคงแลกเงินดอลลาร์ที่อัตรา 35 บาทต่อดอลลาร์ยกเว้นผู้ส่งออกที่เผลอกำหนดราคาส่งออกสินค้าผิดเท่านั้น!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น