SIPA
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Software Industry Promotion
Agency (Public Organization)เรียกชื่อย่อว่า SIPA เป็น
หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24
กันยายน พ.ศ. 2546
SIPA
เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม
โดยมีบทบาทหลักในการยกระดับ ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุน
ให้อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ
สนับสนุนให้เกิดการลงทุน
และการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
พันธกิจ ( MISSION )
- ส่งเสริม การเงิน การลงทุน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์
- ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ ให้มีทักษะที่สูงและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ ซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
- การส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ในประเทศใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่ม ศักยภาพธุรกิจ
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ทั้งด้านการตลาดและการพัฒนาซอฟต์แวร์/บริการซอฟต์แวร์ ระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ต่างชาติ
- ส่งเสริมให้เกิดการวิจัย ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์และผลักดันให้เกิด การนำผลงานวิจัยมาต่อยอดทางธุรกิจ
- ส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในผลิตภัณฑ์และบริการซอฟต์แวร์ที่คิดค้นโดยผู้ประกอบการไทย และให้บริการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ
ค่านิยมองค์กร (CORE-VALUE)
หมายถึง
ความคิดหรือความเชื่อร่วมกันของสำนักงานซึ่งได้รับการพิจารณาแล้วว่ามีคุณค่า
มีประโยชน์ ถูกต้องเหมาะสม ดีงาม สมควรประกาศไว้เพื่อกำกับให้
บุคลากรในสำนักงานยึดถือและประพฤติ ปฏิบัติตาม คือ SIPA หมายถึง
- S : Service-minded การบริการด้วยจิตอาสา
- I : Integrity การยึดหลักความซื่อสัตย์และความถูกต้อง
- P : Performance-based การดำเนินงานโดยเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพ
- A : Accountability การดำเนินงานด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
- 1 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
- 2 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
- 3 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาและการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
- 4 ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพภาครัฐเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น