Order Fulfillment



Order Fulfillment
                ระบบบริหารและจัดการคลังสินค้า (Order Fulfillment) เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับสินค้า โดยเชื่อมโยงการจัดการคลังสินค้า และการจัดส่ง เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัวรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการให้บริการขนส่งสินค้า
ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
  • การสร้างประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่คลังสินค้า (Optimize warehouse space)
  • สร้างความคล่องตัวให้กับการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิผล (Streamline operations and increase productivity)
  • ปรับปรุงบริการขนส่งให้ดีขึ้น (Improve logistics services)
  • กำหนดสิทธิในการอนุมัติรายการในระบบ
  • ได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโต (Gain flexibility and cost effective for growth)
ความสามารถของระบบ

  • การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
  • สามารถเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันระบบสั่งสินค้า
  • สามารถควบคุมและวิเคราะห์การปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า
  • กำหนดเส้นทางภายในคลังสินค้า บันทึกข้อมูลพนักงานหยิบสินค้า ช่วงเวลาการทำงาน ความเร็วในการหยิบต่อรอบของเส้นทาง
  • วิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดวางสินค้าในชั้นของคลังสินค้า
  • การกำหนดบทบาทของพนักงานในคลังสินค้า ผุ้มีอำนาจอนุมัติและ ตัดสินใจ
  • บันทึกประวัติการทำงานต่าง ๆ ภายในคลังสินค้า การติดตามตัวสินค้า ล๊อตสินค้า ต้นทุนสินค้า การจัดการสินค้าส่งคืน
การควบคุมสินค้าคงคลัง ( Inventory Control)

  • สามารถตรวจสอบต้นทุนสินค้า มีสถานที่คลังสินค้าได้หลากหลาย (Multiple locations) มีคลังสินค้าได้หลากหลายในแต่ละสถานที่
  • การพิมพ์ป้ายเพื่อการตรวจนับสินค้า (Physical count tag printing)
  • การรับสินค้าคืนเข้าคลัง
  • การตรวจสภาพและทำความสะอาดสินค้าคืน (Test and clean)
  • การเตรียมสินค้าเข้าคลังสินค้า การรับสินค้าเข้าคลังบางส่วน
  • การโอนย้ายแยกคลังสินค้าเสียหายจากคลังปกติ


การจัดการการจัดส่ง (Delivery Management)
  • การจัดการเส้นทางส่งสินค้า
  • การจัดสินค้าตามเส้นทางส่งสินค้า การกำหนดเส้นทางส่งสินค้าตามภูมิศาสตร์
  • การบันทึกเส้นทางและวิเคราะห์เส้นทางล่วงหน้า
  • การบันทึกและควบคุมค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าต่อเที่ยวส่ง และต่อตัวสินค้า
  • การกำหนดสถานะการจัดส่ง และการบันทึกผลการจัดส่ง เอกสารรับกลับ ค่า ชำระสินค้าที่รับกลับ (Return Management)


ระบบมีความยืนหยุ่นที่จะสามารถปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมไปสู่ความสามารถอื่นๆ ได้เช่น
  • การจัดการรถส่งสินค้า
  • ผู้ขับรถ
  • ความจุของตัวรถส่งสินค้า
  • การจัดการตัวแทนจัดส่ง (Shipping agent management)
  • การกำหนดและเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดในการจัดส่ง
  • การกำหนดเส้นทางเลือกหลากหลายที่ไปยังปลายทางส่งสินค้า
  • ระบบการแนะนำเส้นทางที่คุ่มค่าที่สุดในการจัดส่ง
  • ระบบการลงทะเบียนตัวแทนจัดส่งสินค้า
  • การเชื่อมโยงกับอุปกรณ์เสริม เช่น Barcode scanner, RFID
  • การพัฒนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบอื่นในการส่งข้อมูลระหว่างองค์กรใดยใช้มาตรฐานต่างๆ เช่น EDI, XML เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น